วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 16 การคำนวณค่าไฟฟ้าและอุปกรณ์
การคำนวณค่าไฟฟ้าและอุปกรณ์ก่อนไปคิดค่ไฟฟ้าแต่ละเดือนเรามาทำความเข้าการคิดค่าการใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วบก่อนอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะมีการบอก ค่าต่างที่สำคัญก็คือ ...Watt [W] วัตต์ ...Amp [I]แอม์...vote [V]โวท์นเช่น คอมพิวเตอร์ให้ดูที่ตัว Power Supply 450 W 220 V สูตรทั้วไป P=V*I P= Watt V=vote I=ampตัวอย่างที่ 1 เตารีดไฟฟ้าอันหนึ่งใช้กำลังไฟฟ้า 1,100 วัตต์ เมื่อต่อเข้ากับความต่างศักย์ 220 โวลต์ จะมีกระแสไฟฟ้าผ่านเท่าไรวิธีทำ เตารีดไฟฟ้าใช้กำลังไฟฟ้า ( P ) = 1,100 วัตต์เตารีดไฟฟ้าต่อกับความต่างศักย์ ( V ) = 220 โวลต์จากสมการ P = VIดังนั้น 1,100 = 220 X II = 1.100/220I = 5 แอมแปร์ตอบ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเตารีดไฟฟ้า 5 แอมแปร์ เป็นตารางการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ภายในบ้านเครื่องใช้ไฟฟ้าเตารีดไฟฟ้า 700 – 1,600 wattหม้อหุงข้าวไฟฟ้า 500 – 1,400 wattพัดลมตั้งพื้น 25 – 75 wattตู้เย็น 70 – 260 wattเครื่องปรับอากาศ 1,150 ขึ้นไป watt กาต้มน้ำไฟฟ้า 200 – 1,000 wattสูตรในการคำนวณการใช้ไฟฟ้าพลังงานไฟฟ้า ( หน่วย ) = กำลังไฟฟ้า ( กิโลวัตต์ ) X เวลา ( ชั่วโมง )1 กิโลวัตต์ = 1000 วัตต์ตัวอย่าง พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ 4 ตัว ถ้าเปิดพร้อมกันจะใช้กำลังไฟฟ้ารวมกันกี่กิโลวัตต์ และถ้าเปิดอยู่นาน 5 ชั่วโมง จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ากี่หน่วยวิธีทำ พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ 4 ตัว ใช้กำลังไฟฟ้ารวม = 75 X 4 วัตต์ = 300 วัตต์กำลังไฟฟ้า ( กิโลวัตต์ ) = 300/1,000 กิโลวัตต์นั่นคือ พัดลมตั้งพื้นทั้ง 4 ตัว ใช้กำลังไฟฟ้า 0.3 กิโลวัตต์พลังงานไฟฟ้า ( หน่วย ) = กำลังไฟฟ้า ( กิโลวัตต์ ) X เวลา ( ชั่วโมง )พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ = 0.3 กิโลวัตต์ X 5 ชั่วโมง = 1.5 หน่วยตอบ พัดลมตั้งพื้น 4 ตัวนี้เปิดนาน 5 ชั่วโมง สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า = 1.5 หน่วยการคิดคำนวณค่าไฟฟ้ารูปบิล ค่าไฟฟ้า[SIZE=5]การคำนวณค่าไฟฟ้าค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระในแต่ละเดือนประกอบด้วย* ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge)* ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตหรือค่า Ft (Energy Adjustment Charge)* และภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ซึ่งสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของสมการได้ดังนี้ค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ = ค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต + ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดค่าไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า หรือตามจำนวนการใช้ไฟฟ้า ถ้าใช้มากขึ้นหน่วยคิดจะสูงขึ้น5 หน่วยแรกหรือน้อยกว่า เป็นเงิน 5.00 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 – 15) หน่วยละ 0.70 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 – 25) หน่วยละ 0.90 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 – 35) หน่วยละ 1.17 บาท65 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 –100) หน่วยละ 1.58 บาท50 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 101–150) หน่วยละ 1.68 บาท250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151–400) หน่วยละ 2.22 บาทเกินกว่า 400 หน่วย ( หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) หน่วยละ 2.53 บาทอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2534ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตหรือค่า Ftค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) = จำนวนหน่วยที่ใช้ X ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสำหรับค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วยนี้จะเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันนี้เท่ากับ 64.52 สตางค์ต่อหน่วยภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VATภาษีมูลค่าเพิ่ม = ร้อยละ 7 ของผลรวมระหว่างค่าพลังงานไฟฟ้ากับค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตตัวอย่าง การคำนวณค่าไฟฟ้า บ้านหลังหนึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าในระยะเวลา 1 เดือน เท่ากับ 85 หน่วย จะต้องชำระค่า ไฟฟ้าเท่าไร ( คิดค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า )ค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า* 5 หน่วยแรกหรือน้อยกว่า เป็นเงิน 5.00 บาท* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 – 15) หน่วยละ 0.70 บาท* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 – 25) หน่วยละ 0.90 บาท* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 – 35) หน่วยละ 1.17 บาท* 65 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 – 100) หน่วยละ 1.58 บาท* 50 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 101 – 150) หน่วยละ 1.68 บาท* 250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400) หน่วยละ 2.22 บาท* เกินกว่า 400 หน่วย ( หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) หน่วยละ 2.53 บาท* ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) หน่วยละ 0.6452 บาท* ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7 %วิธีทำ คิดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ดังนี้5 หน่วยแรก เป็นเงิน = 5.00 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 – 15) เป็นเงิน 0.70 x 10 = 7.00 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 – 25) เป็นเงิน 0.90 x 10 = 9.00 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 – 35) เป็นเงิน 1.17 x 10 = 11.70 บาท50 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 – 85) เป็นเงิน 1.58 x 50 = 79.00 บาทค่าพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น = 5.00 + 7.00 + 9.00 + 11.70 + 79.00 = 111.70 บาทค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) = จำนวนหน่วยที่ใช้ X ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วย= 85 X 0.6452= 54.84 บาทค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต = 111.70 + 54.84 = 166.54 บาทภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = ( ค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต ) x 7/100ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = ( 111.70 + 54.84 ) x 7/100 = 11.66 บาทตอบ บ้านหลังนี้ต้องชำระค่าไฟฟ้า = 111.70 + 54.84 + 11.66 = 178.20 บาทค่า FT ไม่สามารถคำรนวณได้ ขึ้นอยู่ค่าใช้จ่าย ยิ่งมีการสร้างหรือใช้วัตถุดิบมากก็ยิ่งทำให้ค่า FT สูงมากเลย มีการเพิ่มเสา เดินสายไฟฟ้า ก็มีผลกับค่า FTถ้าต้องการทราบค่า FT คืออะไร เป็นอะไรบางได้จาก Link ด้านล่างสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)ปัตจัยที่มีผลกับค่า FT
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 15 เครื่องตัดไฟรั่วมีประโยชน์อย่างไร
เครื่องตัดไฟรั่วหรือที่รู้จักกันว่า “เครื่องกันไฟดูด” นั้น คือเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ตัดไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนรั่วหายไปคือไมไหลกลับไปตามสายไฟฟ้า แต่มีไฟรั่วลงไปในดิน โดยผ่านร่างกายมนุษย์ หรือผ่านฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ประโยชน์ของเครื่องตัดไฟรั่ว
- ป้องกันอันตรายจากไฟดูด (ตัดไฟรั่วที่ไหลผ่านร่างกาย)- ป้องกันอัคคีภัย (ตัดไฟรั่วที่ไหลลงดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือสายไฟฟ้าในกรณีที่เครื่องป้องกันกระแสเกิน เช่น ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ไม่ทำงาน หรือทำงานช้า เนื่องจากปริมาณกระแสไฟรั่วมีค่าต่ำ แต่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้)
ประเภทเครื่องตัดไฟรั่ว
เครื่องตัดไฟรั่วจะมีอยู่หลายประเภท ในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ- เครื่องตัดไฟรั่วที่ตัดกระแสลัดวงจรได้ (RCBO) สามารถใช้ตัดได้ทั้งไฟรั่วและกระแสลัดวงจร - เครื่องตัดไฟรั่วที่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจร (RCCB) จึงต้องใช้ร่วมกับฟิวส์หรือเบรกเกอร์ด้วยทุกครั้ง
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินต้องใช้ปลั๊กไฟที่มีเฉพาะ 3 ขา เท่านั้นหรือ
ไม่จำเป็นต้องใช้ปลั๊กไฟ 3 ขา ปลั๊กไฟที่มีสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะมีเพียง 2 ขา โดยมีขั้วสายดิน 2 แถบ อยู่ด้านข้างของตัวปลั๊ก ดังนั้นการติดตั้งเต้ารับที่มี 3 รู จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการต่อ ลงดิน และยังเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้อุปกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลอีกด้วย
เครื่องตัดไฟรั่วกับสายดินอย่างไหนจะดีกว่ากันสายดิน เป็นความจำเป็นอันดับแรกที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีสำหรับ ป้องกันไฟฟ้าดูด เพื่อให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงสายดินได้โดยสะดวก โดยไม่ผ่านร่างกาย (ไฟไม่ดูด) และทำให้เครื่องตัดไฟ อัตโนมัติตัดไฟออกได้ทันทีเครื่องตัดไฟรั่ว เมื่อใช้กับระบบไฟที่มีสายดินจะเป็นมาตรการ เสริมความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้มีการตัดไฟรั่วก่อนที่จะเป็น อันตรายกับระบบไฟฟ้า (ไฟไหม้) หรือกับมนุษย์ (ไฟดูด)เครื่องตัดไฟรั่วในระบบไฟทีไม่มีสายดิน เครื่องตัดไฟรั่วจะทำงานก็ต่อเมื่อมีไฟรั่วไหลผ่านร่างกายแล้ว (ต้องถูกไฟดูดก่อน) ดังนั้นความปลอดภัยจึงขึ้นอยู่กับความไวในการตัดกระแสไฟฟ้าระบบไฟฟ้าที่ดีจึงควรมีทั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อเสริมการทำงานซึ่งกันและกันให้เกิดความปลอดภัยทั้งจากอัคคีภัยและการถูกไฟฟ้าดูด
เครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้ป้องกันไฟดูดต้องมีคุณสมบัติและการใช้งานอย่างไร
พิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วต้องไม่เกิน 30 mA และตัดไฟได้ภายในระยะเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA)ควรติดตั้งใช้งานเฉพาะจุด เช่น วงจรเต้ารับในห้องครัว, ห้องน้ำ, ห้องเด็ก ๆ หรือวงจรเต้ารับ/สายไฟที่ต่อไปใช้งานนอกอาคารทั้งชั่วคราวและถาวรถ้าจะติดตั้งรวมที่เมนสวิตช์จะต้องแยกวงจรที่มีค่าไฟรั่วตามธรรมชาติมากออกไป เช่น อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า,เครื่องปรับอากาศ, อุปกรณ์ที่มีโอกาสเปียกชื้นเมื่อต้องการให้เครื่องตัดไฟรั่วสามารถป้องกันทุกวงจรที่เมนสวิตช์ (ใช้ได้เฉพาะระบบที่มีสายดิน เป็นมาตรการเสริมป้องกันอัคคีภัย และไฟฟ้าดูด) ให้ใช้ขนาดตั้งแต่ 100 mA เป็นต้นไป โดยอาจเป็น 300 mA หรือ 500 mA ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟรั่วตามธรรมชาติ สำหรับขนาด 30 mA นั้นก็ยังคงใช้ร่วมกันในวงจรย่อยซึ่งอาจใช้หลายตัวก็ได้ และหากมีปัญหาการทำงานพร้อมกันให้เลือกชนิดที่มีการหน่วงเวลา (Type S) สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วที่เมนสวิตช์
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องตัดไฟรั่วที่มีอยู่ปลอดภัยเราสามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่วได้ด้วยเครื่องตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่ว การกดปุ่มทดสอบเป็นประจำเป็นเพียงการบอกว่าการรับสัญญาณและกลไกสามารถทำงานได้เท่านั้นอย่างไรก็ตามความปลอดภัยยังขึ้นอยู่กับการติดตั้งว่าถูกต้องหรือไม่ด้วย
ระบบปัจจุบัน ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยถ้าไม่มีระบบสายดินหรือเครื่องตัดไฟรั่ว ต้องมีระบบสายดินถ้ามีเครื่องตัดไฟรั่วอยู่แล้ว ต้องมีระบบสายดินถ้ามีระบบสายดินอยู่แล้ว ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว
ขอบคุณสำหรับที่มาของข้อมูล : การไฟฟ้านครหลวง
ประโยชน์ของเครื่องตัดไฟรั่ว
- ป้องกันอันตรายจากไฟดูด (ตัดไฟรั่วที่ไหลผ่านร่างกาย)- ป้องกันอัคคีภัย (ตัดไฟรั่วที่ไหลลงดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือสายไฟฟ้าในกรณีที่เครื่องป้องกันกระแสเกิน เช่น ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ไม่ทำงาน หรือทำงานช้า เนื่องจากปริมาณกระแสไฟรั่วมีค่าต่ำ แต่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้)
ประเภทเครื่องตัดไฟรั่ว
เครื่องตัดไฟรั่วจะมีอยู่หลายประเภท ในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ- เครื่องตัดไฟรั่วที่ตัดกระแสลัดวงจรได้ (RCBO) สามารถใช้ตัดได้ทั้งไฟรั่วและกระแสลัดวงจร - เครื่องตัดไฟรั่วที่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจร (RCCB) จึงต้องใช้ร่วมกับฟิวส์หรือเบรกเกอร์ด้วยทุกครั้ง
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินต้องใช้ปลั๊กไฟที่มีเฉพาะ 3 ขา เท่านั้นหรือ
ไม่จำเป็นต้องใช้ปลั๊กไฟ 3 ขา ปลั๊กไฟที่มีสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะมีเพียง 2 ขา โดยมีขั้วสายดิน 2 แถบ อยู่ด้านข้างของตัวปลั๊ก ดังนั้นการติดตั้งเต้ารับที่มี 3 รู จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการต่อ ลงดิน และยังเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้อุปกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลอีกด้วย
เครื่องตัดไฟรั่วกับสายดินอย่างไหนจะดีกว่ากันสายดิน เป็นความจำเป็นอันดับแรกที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีสำหรับ ป้องกันไฟฟ้าดูด เพื่อให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงสายดินได้โดยสะดวก โดยไม่ผ่านร่างกาย (ไฟไม่ดูด) และทำให้เครื่องตัดไฟ อัตโนมัติตัดไฟออกได้ทันทีเครื่องตัดไฟรั่ว เมื่อใช้กับระบบไฟที่มีสายดินจะเป็นมาตรการ เสริมความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้มีการตัดไฟรั่วก่อนที่จะเป็น อันตรายกับระบบไฟฟ้า (ไฟไหม้) หรือกับมนุษย์ (ไฟดูด)เครื่องตัดไฟรั่วในระบบไฟทีไม่มีสายดิน เครื่องตัดไฟรั่วจะทำงานก็ต่อเมื่อมีไฟรั่วไหลผ่านร่างกายแล้ว (ต้องถูกไฟดูดก่อน) ดังนั้นความปลอดภัยจึงขึ้นอยู่กับความไวในการตัดกระแสไฟฟ้าระบบไฟฟ้าที่ดีจึงควรมีทั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อเสริมการทำงานซึ่งกันและกันให้เกิดความปลอดภัยทั้งจากอัคคีภัยและการถูกไฟฟ้าดูด
เครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้ป้องกันไฟดูดต้องมีคุณสมบัติและการใช้งานอย่างไร
พิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วต้องไม่เกิน 30 mA และตัดไฟได้ภายในระยะเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA)ควรติดตั้งใช้งานเฉพาะจุด เช่น วงจรเต้ารับในห้องครัว, ห้องน้ำ, ห้องเด็ก ๆ หรือวงจรเต้ารับ/สายไฟที่ต่อไปใช้งานนอกอาคารทั้งชั่วคราวและถาวรถ้าจะติดตั้งรวมที่เมนสวิตช์จะต้องแยกวงจรที่มีค่าไฟรั่วตามธรรมชาติมากออกไป เช่น อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า,เครื่องปรับอากาศ, อุปกรณ์ที่มีโอกาสเปียกชื้นเมื่อต้องการให้เครื่องตัดไฟรั่วสามารถป้องกันทุกวงจรที่เมนสวิตช์ (ใช้ได้เฉพาะระบบที่มีสายดิน เป็นมาตรการเสริมป้องกันอัคคีภัย และไฟฟ้าดูด) ให้ใช้ขนาดตั้งแต่ 100 mA เป็นต้นไป โดยอาจเป็น 300 mA หรือ 500 mA ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟรั่วตามธรรมชาติ สำหรับขนาด 30 mA นั้นก็ยังคงใช้ร่วมกันในวงจรย่อยซึ่งอาจใช้หลายตัวก็ได้ และหากมีปัญหาการทำงานพร้อมกันให้เลือกชนิดที่มีการหน่วงเวลา (Type S) สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วที่เมนสวิตช์
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องตัดไฟรั่วที่มีอยู่ปลอดภัยเราสามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่วได้ด้วยเครื่องตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่ว การกดปุ่มทดสอบเป็นประจำเป็นเพียงการบอกว่าการรับสัญญาณและกลไกสามารถทำงานได้เท่านั้นอย่างไรก็ตามความปลอดภัยยังขึ้นอยู่กับการติดตั้งว่าถูกต้องหรือไม่ด้วย
ระบบปัจจุบัน ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยถ้าไม่มีระบบสายดินหรือเครื่องตัดไฟรั่ว ต้องมีระบบสายดินถ้ามีเครื่องตัดไฟรั่วอยู่แล้ว ต้องมีระบบสายดินถ้ามีระบบสายดินอยู่แล้ว ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว
ขอบคุณสำหรับที่มาของข้อมูล : การไฟฟ้านครหลวง
สัปดาห์ที่ 14 วิธีติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง
วิธีติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง
1.จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์หรือนิวทรัล) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรกของตู้เมนสวิตช์2.ภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด 3.สายดินและสายเส้นศูนย์สามารถต่อร่วมกันได้เพียงแห่งเดียวที่จุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตช์ ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่น ๆ อีก เช่น ในแผงสวิตช์ย่อยจะต้องมีขั้วสายดินแยกจากขั้วต่อสายศูนย์ และห้ามต่อถึงกันโดยมีฉนวนคั่นระหว่างขั้วต่อสายเส้นศูนย์กับตัวตู้ซึ่งต่อกับขั้วต่อสายดิน4.ตู้เมนสวิตช์สำหรับห้องชุดของอาคารชุดและตู้แผงสวิตช์ประจำชั้นของอาคารชุดให้ถือว่าเป็นแผงสวิตช์ย่อย ห้ามต่อสายเส้นศูนย์และสายดินร่วมกัน5.ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้วให้แก้ไขโดยมีการต่อลงดินที่เมนสวิตย์อย่างถูกต้องแล้วเดินสายดินจากเมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม 6.ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด 120/240 V กับระบบไฟ 220 V เพราะพิกัด IC จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง7.การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว จะเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีที่มักจะมีน้ำท่วมขัง หรือกรณีสายดินขาด เป็นต้น และจุดต่อลงดินต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่วเสมอ8.ถ้าตู้เมนสวิตช์ไม่มีขั้วต่อสายดินและขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกัน เครื่องตัดไฟรั่วจะต่อใช้ได้เฉพาะวงจรย่อยเท่านั้น จะใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งระบบไม่ได้9.วงจรสายดินที่ถูกต้องในสภาวะปกติจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล10.ถ้าเดินสายไฟในท่อโลหะ จะต้องเดินสายดินในท่อโลหะนั้นด้วย11.ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะควรต่อลงดิน มิฉะนั้นต้องอยู่เกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสไม่ถึง (สูง 2.40 เมตร หรือห่าง 1.50 เมตร ในแนวราบ)12.ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ระบบสายดิน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง
สัปดาห์ที่ 13 12 วิธีเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า
การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนควรเริ่มต้นกันตั้งแต่การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้งานเพราะการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ย่อมจะยังผลให้เกิดการประหยัดพลังงาน และประหยัดเงินค่าไฟ ซึ่งวิธีการประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อมีข้อแนะนำดังนี้12 คำถามก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า1. ตรวจดูว่าตัวถังเครื่องใช้ไฟฟ้า มีรอยขีดข่วน ชำรุด บุบ สีถลอก มีตำหนิที่จุดใดหรือไม่2.ตรวจดูที่สายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อว่าฉนวนมีรอยถลอกเนื่องจากหนูกัด แมลงสาบแทะหรือไม่ สายไฟกับปลั๊กต่อกันสนิทหรือไม่ 3. ตรวจดูว่าสายไฟของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสายไฟที่มีคุณภาพได้มาตรฐานอุตสาหกรรมหรือไม่ โดยดูจากยี่ห้อที่ประทับบนสายไฟต้องชัดเจน มีเครื่องหมายมาตรฐานมอก. และต้องเป็นสายไฟที่สามารถทนกระแสสูงสุดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้ 4. สอบถามราคาของเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นที่จะซื้อ เปรียบเทียบกัน 3-4 ร้าน ก่อนตัดสินใจ 5. ตรวจดูอุปกรณ์เสริมประกอบที่มีมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีครบตามรายการหรือไม่ 6. ตรวจดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้กับแรงดันไฟฟ้าในบ้านเราคือ ระดับแรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ต (Hz.) หรือไม่ 7. ดูว่ากำลังไฟฟ้าที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นว่าใช้เท่าไร เปรียบเทียบกับขนาดและรุ่นเดียวกันกับยี่ห้ออื่น ๆ 8. ตรวจสอบดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีใบรับประกันคุณภาพสินค้าหรือไม่ ระยะเวลาที่ประกันนานเท่าใด การรับประกันครอบคลุมขอบเขตมากน้อยขนาดไหน 9. ตรวจดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ มีคำแนะนำหรือคู่มือวิธีการใช้แนบมาให้ด้วยหรือไม่ หากไม่มีต้องทวงถามจากผู้ขายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ซื้อมาจากร้าน ถ้าเป็นของใหม่ก็ควรมีคู่มือการใช้และใบรับประกันคุณภาพแนบมาด้วย ผู้ใช้ควรอ่านเอกสารคู่มือให้เข้าใจและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง สินค้าบางอย่างควรมีเจ้าหน้าที่มาแนะนำสาธิตการใช้ให้ด้วย ทำให้สามารถใช้เครื่องได้อย่างถูกต้องเพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าหากใช้ถูกวิธีแล้ว นอกจากจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถประหยัดการใช้ไฟฟ้าอีกด้วย 10. หากทำได้ควรทดลองเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าดูว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่ ปลั๊กเสียบกับเต้ารับหลวมเกินไปหรือไม่ 11. สอบถามถึงความพร้อมของอะไหล่ และอัตราค่าบริการหากพ้นระยะเวลาการประกันแล้วทางบริษัทฯ คิดกับลูกค้าอย่างไร 12. ตรวจดูว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือผ่านการรับรองจากสถาบันใดหรือไม่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ผู้ผลิตพยายามโฆษณาสินค้าของตนเพื่อให้ติดหูติดตาผู้บริโภค ฉะนั้น ผู้บริโภคที่ดีควรรู้จักการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่ได้มาตรฐานและความปลอดภัยจากการใช้ เพราะมาตรฐานทำให้เกิดความชอบธรรมในการซื้อขายผู้ซื้อสามารถทราบได้แน่นอนก่อนการตัดสินใจซื้อว่า สินค้านั้นมีคุณสมบัติอย่างไร และผู้ซื้อยังได้รับความคุ้มครองด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อไปใช้อย่างไร นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการประหยัด เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานจะมีความเหมาะสมกับการใช้งาน สามารถสับเปลี่ยนชิ้นส่วนทดแทนกันได้ รวมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าด้วย เพียงแค่สังเกตเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสมอ. ออกให้กับผู้ผลิตสินค้าที่ยื่นขอ ซึ่งทางสมอ. ได้กำหนดมาตรฐานขึ้นมา 3 แบบ คือ มาตรฐานทั่วไป มาตรฐานบังคับ และมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่สมอ. กำหนดขึ้นจะครอบคลุม 15 สาขา โดยที่ผู้บริโภคสามารถพิจารณาสังเกตได้ เพื่อที่จะได้เลือกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพและมีอายุการใช้งานยาวนาน คุ้มกับเงินที่จ่ายไป
สัปดาห์ที่ 12 กระแสไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า คือ อะไร
เมื่อได้ทราบแล้วไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามาพิจารณากันต่อไปว่า “กระแสไฟฟ้าคืออะไร” จากปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าต่างๆที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีสาเหตุมาจากการไหลของไฟฟ้า ไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ได้จะมีคุณสมบัติตรงข้ามกับไฟฟ้าสถิตเรียกว่า ไฟฟ้าเคลื่อนไหวสายไฟทั่วไปทำด้วยลวดตัวนำ คือ โลหะทองแดงและอะลูมิเนียม อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระ ไม่ยึดแน่นกับอะตอม จึงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้ามีประจุลบเพิ่มขึ้นในสายไฟ อิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัว จะถูกดึงเข้าหาประจุไฟฟ้าลบออกไปแทนที่ ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟจนกว่าประจุบวกจะถูกทำให้เป็นกลาง การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า(Electric Current)สำหรับตัวนำที่เป็นของแข็ง กระแสไฟเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ ในตัวนำที่เป็นของเหลวและก๊าซ กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนกับโปรตอน โดยจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้าม ถ้าจะเรียกว่า กระแสไฟฟ้าคือ การไหลของอิเล็กตรอนก็ได้ แต่ทิศทางกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับการไหลของอิเล็กตรอนขนาดของไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้านั้น กำหนดได้จากปริมาณของประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดใดๆ ในเส้นลวดใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere ซึ่งแทนด้วย A) กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า 2 ตัวที่วางขนานกันโดยมีระยะห่างกัน 1 เมตร แล้วทำให้ เกิดแรงในแต่ละตัวน้ำหนักเท่ากับ 2 x 10 ยกกำลัง -7 นิวตัน/เมตร หรือ เท่ากับ ประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ ซึ่งเทียบได้กับอิเล็กตรอน 6.24 x 10 ยกกำลัง 18 ตัววิ่งผ่านใน 1 วินาที
สัปดาห์ที่ 11 แรงดันไฟฟ้า
แรงดันไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่อิเล็กตรอนไหลในสายไฟ ซึ่งการที่อิเล็กตรอนไหลหรือเคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องมีแรงมากระทำต่ออิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไหล แรงดันดังกล่าวเรียกว่า แรงดันไฟฟ้า (Voltage)ศักย์ไฟฟ้าเป็นคำอีกหนึ่งที่คล้ายกับแรงดันไฟฟ้า จะหมายถึงระดับไฟฟ้า หรือ ระดับพลังงานไฟฟ้า ณ จุดใดๆ เช่น ลูกกลมที่ 1 มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีศักย์ไฟฟ้าสูง ส่วนลูกกลมที่ 2 มีประจุไฟฟ้าลบจะมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ ดังนั้นลูกกลมที่ 1 และ 2 จึงมีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าเรียกว่า ความต่างศักย์ (กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวกไปขั้วลบ หรือ ไหลจากศักย์ไฟฟ้าสูงไปศักย์ไฟฟ้าต่ำ) ศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์ (Volt)แรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หมายถึงแรงที่สร้างให้เกิดแรงดันไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจึงไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้อาจเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า, แบตเตอรี่, ถ่านไฟฉาย และเซลล์เชื้อเพลิง ฯลฯ หน่วยของแรงดันไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้ามีหน่วยเดียวกัน คือ โวลต์ ซึ่งแทนด้วย V. แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ คือแรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในตัวต้านทาน 1 โอห์ม
สัปดาห์ที่ 10 วิธีเลือกซื้อ LCD TV หรือ Plasma TV แบบไหนดีกว่ากัน
จอธรรมดาทั่วไป ที่ทั้งอ้วน-หนา-หนัก นั้นเรียกว่า จอ CRT (Crystal Ray Tube) มีอัตราส่วนจอเป็น 4:3 แต่ส่วน Plasma และ LCD นั้นเป็นจอภาพแสดงผลแบบ "บาง" ทั้งคู่ โดยส่วนใหญ่มีอัตราส่วนจอเป็น 16:9 (มี LCD บางรุ่นเล็กที่เป็น 4:3) แต่มีวิธีการสร้างภาพไม่เหมือนกัน คือLCD - เป็นจอภาพที่แสดงผลแบบ TFT ภายในเป็นกระจก 2 ชั้นบรรจุของเหลว ที่ตกผลึกเฉพาะจุดที่ได้รับกระแสไฟฟ้าหรือความร้อน หรือที่เรียกว่า Pixel นิยมใช้ในจอคอมพิวเตอร์Plasma - หลักการทำงานคล้าย LCD แต่ใช้แก๊สบรรจุในแผ่นกระจกแทนของเหลว จุดเด่นของ Plasma1. มุมมองการรับชมPlasma สามารถรับชมภาพได้ชัดเจนจากทุกมุมมอง คือมองภาพจากด้านซ้าย-ขวา หรือยืนดู นอนดู ได้หมดครับ ...ในขณะที่ LCD ทั่วไป ถ้าไม่ได้มองภาพตรงๆ ภาพจะมืดลงครับ2. Contrast Ratio (อัตราส่วนความแตกต่างระหว่างภาพมืดสุด-ถึง-สว่างสุด)Plasma มักจะมี Contrast ที่ดีกว่า LCD ...ถ้า Contrast ต่ำ ภาพสีดำก็จะไม่ดำสนิท เช่นเดียวกับสีขาวก็จะไม่ขาวสนิท)3. Response Time (ความเร็วในการตอบสนองเพื่อแสดงผลภาพ)Plasms มีค่า Response Time ต่ำกว่า LCD ...ค่านี้ตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งดีครับ เพราะถ้าหากค่ามากภาพเคลื่อนไหวจะเห็นมีเงาวิ่งตามภาพ4. ราคาและขนาดราคาเทียบกันต่อนิ้วแล้ว Plasma จะมีราคาต่ำกว่า LCD และขนาดจะมีไปถึงขนาดใหญ่กว่า- LCD TV จะผลิตตั้งแต่ 15" - 45"- Plasma TV จะผลิตตั้งแต่ 37" - 60"จุดเด่นของ LCD1. Resolution (ความละเอียดของหน้าจอ)- Plasma ส่วนใหญ่จะมีความละเอียดที่ W-VGA 852x480 พิกเซล- LCD ส่วนใหญ่จะมีความละเอียดมากกว่าที่ W-XGA (1,366x768) หรือสูงกว่านี้ก็มีครับ 2. Dot Pitch (ระยะห่างระหว่างจุดสี)ของ LCD มีค่าน้อยกว่า คือยิ่งค่าน้อยเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะหมายถึงระยะห่างระหว่างจุดใกล้กันกว่า ทำให้เวลานำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ภาพของ LCD จะละเอียดกว่า3. Brightness (ความสว่าง)LCD มีความสว่างที่ดีกว่า Plasma เป็นจุดเด่นมาแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ4. แสงสะท้อน บนผิวหน้าจอทั้งทีวีจอแก้ว (CRT) หรือ Plasma TV หน้าจอจะเป็นกระจก ซึ่งแน่นอนว่าสะท้อนแสงแน่ๆครับ ถ้าห้องเราเปิดไฟไว้ เราจะเห็นหลอดไฟบนหน้าจอ และในฉากมืดๆ เรายังจะมองเห็นเงาสะท้อนของตัวเราเองด้วยซ้ำครับLCD TV หน้าจอไม่ใช่กระจกครับ จึงไม่สะท้อนแสงแน่นอน ภาพจึงไม่มีแสงสะท้อนรบกวนคุณภาพของภาพครับ5. ไม่มีอาการจอไหม้Plasma TV ถ้าเปิดภาพใดภาพหนึ่งแช่ไว้นานๆ โดยไม่เปลี่ยนภาพ เช่น เปิดภาพที่เป็นจอกว้าง มีแถบดำด้านบน-ล่างของจอ หรือเปิดเกมที่มีการแสดงคะแนน ฯลฯ ค้างบนจอในจุดเดียวนานๆ จะเกิดอาการ "จอไหม้" ได้ครับ คือ ภาพที่เปิดแช่นั้นมันจะค้าง ถึงเราเปลี่ยนไปดูภาพอื่นแล้ว แต่ยังจะเห็นภาพนั้นลางๆค้างอยู่ ส่วน LCD TV จะไม่เป็นอาการนี้ครับ เค้าจึงนิยมเอามาใช้เป็นจอคอมพิวเตอร์ไงครับ 6. ประหยัดไฟ และการแผ่รังสีความร้อนต่ำกว่าLCD ประหยัดไฟกว่า Plasma ประมาณ 40% ในขนาดเดียวกัน และยังแผ่ความร้อนออกมาน้อยกว่าด้วยครับ Plasma ที่เปิดทิ้งไว้สักพัก ลองไปยืนใกล้ๆดูครับ ร้อนวูบเลยล่ะพูดถึง SONY BRAVIAสำหรับ LCD TV ของ Sony จะอยู่ในตระกูล "BRAVIA" โดยช่วงแรกจะมีทั้งหมด 9 รุ่นนะครับ จะแบ่งเป็น- B-Series 15", 20"- S-Series 23", 26", 32", 40"- V-Series 26", 32", 40"ที่น่าสนใจสุดคือ S-Series ด้วยราคา ขนาดและคุณภาพที่เหมาะสม - ความละเอียด = WXGA (1366x768 พิกเซล)- ความสว่าง = 500 cd/m2- Contrast Ratio = 1,000 : 1- Response Time = 8 msนอกจากนี้ S-Series ยังมี Contrast ที่ดีมากครับ เพราะปกติแล้ว LCD TV ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา จะมีจุดอ่อนอยู่ที่ Contrast ทุกที คือฉากมืดสีดำ มักจะไม่ดำ แต่จะออกเป็นสีเทาๆไปซะ แต่สำหรับรุ่นนี้ Contrast Ratio 1,000 : 1 (ดูตัวเลขอาจจะไม่ตื่นเต้นเพราะ Plasma TV เค้าโฆษณากันระดับ 10,000 : 1 กันแล้ว) แต่ปรากฏว่าพอนำมาเปรียบเทียบภาพระหว่าง- Bravia LCD สเปก 1,000 : 1 กับ- Plasma TV สเปก 10,000 : 1 ภาพของ LCD รุ่นนี้กลับมี Contrast ที่ดำสนิทมากกว่า Plasma ซะอีกครับ ถือว่า Contrast ไม่ใช่ปัญหาของ LCD TV รุ่นนี้แล้วล่ะครับเรื่องความสว่างของ LCD TV ไม่ค่อยเป็นปัญหาอยู่แล้วครับเพราะเป็นจุดเด่นของจอภาพแบบ LCD นี้ ส่วนด้านความละเอียดนั้น ปกติ LCD TV ทั่วไปมักจะมีความละเอียดน้อยแค่ XVGA แต่กับ S-Series ทุกรุ่นจะใช้จอที่มีความละเอียด WXGA ซึ่งถือว่าเหมาะสมและรองรับสัญญาณระดับ HDTV ครับ สำหรับใน V-Series นั้น ถึงเป็นรุ่น Top แต่ดูราคาแล้ว ก็ยังถือว่าไม่เกิยเอื้อมเหมือนแต่ก่อนแล้วครับ- ความละเอียด = WXGA (1366x768 พิกเซล)- ความสว่าง = 500 cd/m2- Contrast Ratio = 1,300 : 1- Response Time = 8 msสิ่งที่เพิ่มเติมจากรุ่น S-Series นะครับ- ระบบสี WCG-CCFL (ทำให้แสดงสีเขียว-แดงได้เข้มขึ้น)- Wega Engine- ช่องต่อ HDMI- แอมป์แบบ S-Master (ดิจิตอลทุกขั้นตอน)- ระบบเสียง TruSurround XTเรียบเรียงจาก : บทความของคุณ SONYMANเรียบเรียงโดย : NutthNet.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)