วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 16 การคำนวณค่าไฟฟ้าและอุปกรณ์
การคำนวณค่าไฟฟ้าและอุปกรณ์ก่อนไปคิดค่ไฟฟ้าแต่ละเดือนเรามาทำความเข้าการคิดค่าการใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วบก่อนอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะมีการบอก ค่าต่างที่สำคัญก็คือ ...Watt [W] วัตต์ ...Amp [I]แอม์...vote [V]โวท์นเช่น คอมพิวเตอร์ให้ดูที่ตัว Power Supply 450 W 220 V สูตรทั้วไป P=V*I P= Watt V=vote I=ampตัวอย่างที่ 1 เตารีดไฟฟ้าอันหนึ่งใช้กำลังไฟฟ้า 1,100 วัตต์ เมื่อต่อเข้ากับความต่างศักย์ 220 โวลต์ จะมีกระแสไฟฟ้าผ่านเท่าไรวิธีทำ เตารีดไฟฟ้าใช้กำลังไฟฟ้า ( P ) = 1,100 วัตต์เตารีดไฟฟ้าต่อกับความต่างศักย์ ( V ) = 220 โวลต์จากสมการ P = VIดังนั้น 1,100 = 220 X II = 1.100/220I = 5 แอมแปร์ตอบ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเตารีดไฟฟ้า 5 แอมแปร์ เป็นตารางการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ภายในบ้านเครื่องใช้ไฟฟ้าเตารีดไฟฟ้า 700 – 1,600 wattหม้อหุงข้าวไฟฟ้า 500 – 1,400 wattพัดลมตั้งพื้น 25 – 75 wattตู้เย็น 70 – 260 wattเครื่องปรับอากาศ 1,150 ขึ้นไป watt กาต้มน้ำไฟฟ้า 200 – 1,000 wattสูตรในการคำนวณการใช้ไฟฟ้าพลังงานไฟฟ้า ( หน่วย ) = กำลังไฟฟ้า ( กิโลวัตต์ ) X เวลา ( ชั่วโมง )1 กิโลวัตต์ = 1000 วัตต์ตัวอย่าง พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ 4 ตัว ถ้าเปิดพร้อมกันจะใช้กำลังไฟฟ้ารวมกันกี่กิโลวัตต์ และถ้าเปิดอยู่นาน 5 ชั่วโมง จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ากี่หน่วยวิธีทำ พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ 4 ตัว ใช้กำลังไฟฟ้ารวม = 75 X 4 วัตต์ = 300 วัตต์กำลังไฟฟ้า ( กิโลวัตต์ ) = 300/1,000 กิโลวัตต์นั่นคือ พัดลมตั้งพื้นทั้ง 4 ตัว ใช้กำลังไฟฟ้า 0.3 กิโลวัตต์พลังงานไฟฟ้า ( หน่วย ) = กำลังไฟฟ้า ( กิโลวัตต์ ) X เวลา ( ชั่วโมง )พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ = 0.3 กิโลวัตต์ X 5 ชั่วโมง = 1.5 หน่วยตอบ พัดลมตั้งพื้น 4 ตัวนี้เปิดนาน 5 ชั่วโมง สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า = 1.5 หน่วยการคิดคำนวณค่าไฟฟ้ารูปบิล ค่าไฟฟ้า[SIZE=5]การคำนวณค่าไฟฟ้าค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระในแต่ละเดือนประกอบด้วย* ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge)* ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตหรือค่า Ft (Energy Adjustment Charge)* และภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ซึ่งสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของสมการได้ดังนี้ค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ = ค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต + ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดค่าไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า หรือตามจำนวนการใช้ไฟฟ้า ถ้าใช้มากขึ้นหน่วยคิดจะสูงขึ้น5 หน่วยแรกหรือน้อยกว่า เป็นเงิน 5.00 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 – 15) หน่วยละ 0.70 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 – 25) หน่วยละ 0.90 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 – 35) หน่วยละ 1.17 บาท65 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 –100) หน่วยละ 1.58 บาท50 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 101–150) หน่วยละ 1.68 บาท250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151–400) หน่วยละ 2.22 บาทเกินกว่า 400 หน่วย ( หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) หน่วยละ 2.53 บาทอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2534ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตหรือค่า Ftค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) = จำนวนหน่วยที่ใช้ X ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสำหรับค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วยนี้จะเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันนี้เท่ากับ 64.52 สตางค์ต่อหน่วยภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VATภาษีมูลค่าเพิ่ม = ร้อยละ 7 ของผลรวมระหว่างค่าพลังงานไฟฟ้ากับค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตตัวอย่าง การคำนวณค่าไฟฟ้า บ้านหลังหนึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าในระยะเวลา 1 เดือน เท่ากับ 85 หน่วย จะต้องชำระค่า ไฟฟ้าเท่าไร ( คิดค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า )ค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า* 5 หน่วยแรกหรือน้อยกว่า เป็นเงิน 5.00 บาท* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 – 15) หน่วยละ 0.70 บาท* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 – 25) หน่วยละ 0.90 บาท* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 – 35) หน่วยละ 1.17 บาท* 65 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 – 100) หน่วยละ 1.58 บาท* 50 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 101 – 150) หน่วยละ 1.68 บาท* 250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400) หน่วยละ 2.22 บาท* เกินกว่า 400 หน่วย ( หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) หน่วยละ 2.53 บาท* ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) หน่วยละ 0.6452 บาท* ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7 %วิธีทำ คิดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ดังนี้5 หน่วยแรก เป็นเงิน = 5.00 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 – 15) เป็นเงิน 0.70 x 10 = 7.00 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 – 25) เป็นเงิน 0.90 x 10 = 9.00 บาท10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 – 35) เป็นเงิน 1.17 x 10 = 11.70 บาท50 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 – 85) เป็นเงิน 1.58 x 50 = 79.00 บาทค่าพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น = 5.00 + 7.00 + 9.00 + 11.70 + 79.00 = 111.70 บาทค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) = จำนวนหน่วยที่ใช้ X ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วย= 85 X 0.6452= 54.84 บาทค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต = 111.70 + 54.84 = 166.54 บาทภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = ( ค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต ) x 7/100ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = ( 111.70 + 54.84 ) x 7/100 = 11.66 บาทตอบ บ้านหลังนี้ต้องชำระค่าไฟฟ้า = 111.70 + 54.84 + 11.66 = 178.20 บาทค่า FT ไม่สามารถคำรนวณได้ ขึ้นอยู่ค่าใช้จ่าย ยิ่งมีการสร้างหรือใช้วัตถุดิบมากก็ยิ่งทำให้ค่า FT สูงมากเลย มีการเพิ่มเสา เดินสายไฟฟ้า ก็มีผลกับค่า FTถ้าต้องการทราบค่า FT คืออะไร เป็นอะไรบางได้จาก Link ด้านล่างสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)ปัตจัยที่มีผลกับค่า FT
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น