วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 5 มัลติมิเตอร์




การเลือกมัลติมิเตอร์รูปข้างล่างเป็นมัลติมิเตอร์ที่มีราคาพอประมาณซึ่งเหมาะที่จะใช้กับอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป สามารถซื้อได้ในราคาราว1000 บาท ราคาที่ถูกมากกว่านี้อาจจะะพอใช้ได้กับโครงงานง่ายๆ แต่ในที่สุดก็คง ต้องหาซื้อใหม่อยู่ดี มัลติมิเตอร์ตัวแรกของคุณควรเลือกแบบดิจิตอลจะดีที่สุด
หากจะเลือกซื้อมัลติมิเตอร์ชนิดอนาลอกควรเลือกที่มีความไวสูงสำหรับพิสัยแรงดันกระแสไฟตรง เช่น 20k/V หรือมากกว่า หากต่ำกว่านี้จะไม่เหมาะกับอิเล็กทรอนิกส์ ปกติค่าความไวจะแสดงไว้ที่มุม ของเสกล ไม่ต้องไปสนใจค่ากระแสสลับต่ำๆ (ความไวของพิสัยกระแสสลับมีความสำคัญน้อยกว่า) ค่าสูงๆของไฟกระแสตรงก็สำคัญเช่นกัน ต้องระวังมัลติมิเตอร์ชนิดอนาลอกที่ขายราคาถูก เหมาะใช้ วัดไฟฟ้าในรถยนต์ จะมีความไวต่ำมาก






มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลดิจิตอลมิเตอร์แทบทุกชนิดใช้กำลังงานจากแบตเตอรี่ จึงไม่มีการกินกำลังจากวงจรที่ทดสอบ นั่นหมายถึงว่าในพิสัยแรงดันกระแสตรงมีความต้านทาน สูงมาก (ปกติเรียกว่าอิมพิแดนซ์ด้านเข้า) ประมาณ 1M หรือสูงกว่า เช่น 10M และจะไม่เกิดผลต่อวงจรที่ทำการทดสอบ
พิสัยการวัดธรรมดาทั่วไปสำหรับมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล(เหมือนตัวในรูป):(ค่าที่ให้นี้เป็นค่าที่อ่านได้สูงสุดในแต่ละพิสัย)
แรงดัน DC: 200mV, 2000mV, 20V, 200V, 600V.
แรงดัน AC: 200V, 600V.
กระแส DC: 200µA, 2000µA, 20mA, 200mA, 10A*.*พิสัย 10A ปกติไม่ผ่านฟิวส์ และต้องต่อวัดกับช่องเสียบแยกต่างหาก
กระแส AC: ไม่มี (ไม่จำเป็นที่จะวัด)
ความต้านทาน: 200, 2000, 20k, 200k, 2000k, ทดสอบไดโอด มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลจะมีพิสัยเฉพาะสำหรับ ทดสอบไดโอด ทั้งนี้เพราะว่าพิสัยความต้านทานของมิเตอร์แบบนี้ไม่สามารถใช้ทดสอบไดโอดและอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอื่นๆได้








มัลติมิเตอร์แบบอนาลอกมัลติมิเตอร์แบบอนาลอกจะกินกำลังเล็กน้อยจากวงจรที่ทดสอบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความไวอย่างน้อย 20k/V ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะมีผลทำให้วงจรที่ทดสอบผิดปกติและ ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง สำหรับรายละเอียดดูเรื่อง ความไว ด้านล่าง
แบตเตอรี่ภายในมิเตอร์มีไว้สำหรับพิสัยการวัดความต้านทาน ใช้ได้นานเป็นปี แต่ต้องไม่ให้สายมิเตอร์แตะกัน หากตั้งพิสัยการวัดความต้านทานไว้ เพราะจะทำให้แบตเตอรี่หมด และเพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมดเร็ว เมื่อเลิกใช้งานควรปรับตั้งไว้ที่ตำแหน่งอื่นๆหรือตำแหน่งปิด
พิสัยการวัดธรรมดาทั่วไปสำหรับมัลติมิเตอร์แบบอนาลอก(เหมือนตัวในรูป):(ค่าแรงดันและกระแสที่ให้นี้เป็นค่าที่อ่านได้สูงสุดในแต่ละพิสัย)
แรงดัน DC: 0.5V, 2.5V, 10V, 50V, 250V, 1000V.
แรงดัน AC: 10V, 50V, 250V, 1000V.
กระแส DC: 50µA, 2.5mA, 25mA, 250mA.ปกติมิเตอร์แบบนี้จะไม่มีพิสัยวัดกระแสสูง
กระแส AC: ไม่มี (ไม่จำเป็นที่จะวัด)
ความต้านทาน: 20, 200, 2k, 20k, 200k.ค่านี้เป็นค่าความต้านทานที่กลางเสกลชองแต่ละพิสัย ในกรณีที่ไม่มีตำแหน่งปิด(0ff) เป็นความคิดที่ดีหากจะตั้งมัลติมิเตอร์แบบอนาลอกไว้ที่พิสัยการวัดแรงดันกระแสตรง เช่น 10V เมื่อเลิกใช้งาน เพราะโอกาสที่จะเสียหายอันเกิดจาการวัดผิดพิสัยนี้มีน้อยกว่า และใช้ได้เลยในการวัดครั้งต่อไป เนื่องจากพิสัยนี้จะถูกใช้มากที่สุด

ความไวของมัลติมิเตอร์แบบอนาลอกมัลติมิเตอร์ต้องมีความไวอย่างน้อย 20k/V ไม่เช่นนั้นแล้วความต้านทานในพิสัยการวัดแรงดันกระแสตรงจะต่ำเกินไป อาจทำให้มีผลต่อวงจรที่ทดสอบและค่าที่อ่านได้ผิดพลาด ดังนั้นเพื่อให้อ่านค่า ได้ถูกต้อง ค่าความต้านทานมิเตอร์ต้องสูงกว่าความต้านทานของวงจรอย่างน้อย 10 เท่า (ค่าความต้านทานสูงสุดของวงจรตรงจุดที่ต่อมิเตอร์ทดสอบ) เราสามารถเพิ่มความต้านทานของมิเตอร์ได้โดย การเลือกพิสัยแรงดันที่สูงกว่า แต่อาจจะทำให้การอ่านค่าน้อยๆได้ไม่เที่ยงนัก
ที่พิสัยการวัดแรงดันกระแสตรงใดๆ: ความต้านทานของมิเตอร์แบบอนาลอก = ความไว × ค่าอ่านสูงสุดของพิสัยเช่น มิเตอร์ที่มีความไว 20k/V ที่พิสัย 10V จะมีความต้านทาน 20k/V × 10V = 200k.
สำหรับมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลแล้วจะต่างออกไปคือค่าความต้านทานทุกพิสัยการวัดแรงดันกระแสตรงจะคงที่ อย่างน้อยก็ 1M (ส่วนมาก10M) ซึ่งมากพอสำหรับการวัดทดสอบได้กับ วงจรทุกรูปแบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น